ถ้าในหน่วยงานมีคนอยู่ 10 คน จะสังเกตว่ามีเพียง 2 คนที่เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรอยู่
.
หรือย้อนไปสมัยเรียนวัยเด็ก ครูมอบงานกลุ่มให้นักเรียนทำ กลุ่มนึงมี 10 คน ก็มักจะมีตัวจิ๊ดอยู่ 2 คนที่ทำงานนั้นอย่างจริงจัง ที่เหลือก็หยิบๆจับๆ นั่งรอส่วนบุญของผลสำเร็จ
.
ตัวเลขนี้แค่ประมาณ ไม่ได้บอกว่าต้องเป๊ะ บางทีสัดส่วนอาจอยู่ที่ 70/30 ก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว สัดส่วนจะอยู่ที่ 80/20
.
มันคือกฎ 80/20 ของพาเลโต ถูกคิดเมื่อปี ค.ศ.1986
.
พาเลโต (Vilfredo Pareto) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ และวิศวกร ชาวอิตาลี เขาสังเกตเห็นว่าที่ดินกว่า 80% ในประเทศอิตาลี ถูกครอบครองด้วยกลุ่มคนประมาณ 20% ของคนอิตาลีทั้งหมด
.
เขาสังเกตเห็นถั่วลันเตาในสวนของเขา แล้วพบว่า ผลผลิตกว่า 80% ที่เก็บเกี่ยวได้มักเกิดมาจากต้นถั่วลันเตาเพียง 20% เท่านั้น
.
นอกจากนี้กฎนี้ยังปรับใช้กับการทำงานได้อีกด้วย ทฤษฎีบอกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมดขององค์กรมักเกิดจากกลุ่มของลูกค้าเพียง 20%
.
หรือแม้แต่การจัดลำดับความสำคัญของงาน ก็ใช้กฎนี้ได้เช่นกัน
.
งานบางอย่างที่อยู่นอกสายตาในครั้งแรก มักให้ผลลัพธ์หรือส่งผลกระทบต่อองค์กรมากมายมหาศาลจนน่าตกใจในภายหลัง
.
ฉะนั้นอย่านิ่งดูดายงานเล็กๆ .. หากแบ่งงานออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1) งานสำคัญ+เร่งด่วน
2) งานสำคัญ+ไม่ด่วน 3) งานไม่สำคัญ+เร่งด่วน 4) งานไม่สำคัญ+ไม่ด่วน
.
สังเกตดีๆจะพบว่า งานสำคัญที่ไม่เร่งด่วน มักจะถูกมองข้ามไปในครั้งแรก เพราะชะล่าใจ แต่จะบอกว่างานกลุ่มนี้มันจะกลายเป็นงานที่สำคัญและเร่งด่วนในท้ายที่สุด .. มันคือ 20%แรกที่ถูกละเลย
.
ผู้บริหารที่นั่งบนยอดปิรามิดขององค์กรขนาดใหญ่ มักถูกรายล้อมด้วยคนจำพวก 80% หากเผลอไผลก็จะมองข้ามกลุ่ม 20% ที่เป็นมดงานสำคัญของระบบ หรือแม้แต่องค์กรที่มีหน่วยยิบย่อยมากมาย หลายคนมักมองข้ามหน่วยงานที่สร้างรายได้หลักแบบสม่ำเสมอ หน่วยงานเล็กๆที่คิดเป็นสัดส่วนแค่ 20%ขององค์กร
ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดเพื่อจะบอกว่า เรื่องนี้มันเข้าตำรา “ทำน้อยแต่ได้มาก” มีหลายธุรกิจที่พลิกจากขาดทุนเป็นกำไร ล้วนเกิดจากการมุ่งเน้นไปที่ส่วนน้อยทั้งสิ้น
..
ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิล ไมโครซอฟต์ สตาร์บัคส์ หรือ อเมซอน ล้วนแล้วแต่เคยประสบวิกฤตขาดทุนย่อยยับหลักพันล้าน แต่เมื่อปรับกลยุทธ์ใหม่ ใช้กฎ 80/20 สังคายนาหน่วยงานในองค์กรใหม่ ให้ความสำคัญกับ ‘เดอะแบก’ มากเป็นพิเศษ โถมเงินลงทุนไปในส่วนเล็กๆอย่างถูกที่ถูกทาง ที่สำคัญคือเน้น ‘ลูกค้าประทับใจ (กลุ่มน้อย)’ มากกว่า ‘ลูกค้าประจำ (กลุ่มใหญ่)’ จากขาดทุนพลิกกลับเป็นกำไรโดยใช้เวลาไม่ถึง 3 ปี
.
‘เดอะแบก’ ในที่นี้หมายรวมได้ทั้ง พนักงานในองค์กร ลูกค้า หรือแม้แต่หน่วยงานย่อยในองค์กรที่มักถูกมองข้ามด้วย
.
ในอดีตหลายที่อาจวัดกันตรง ‘ลูกค้าประจำ’ แต่อนาคตจะวัดกันตรง ‘ลูกค้าประทับใจ’
.
ดังนั้น ธุรกิจที่มีทรัพยากรจำกัด จึงต้องเลือกโฟกัส ไปที่สิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดก่อน
.
ตามลักษณะของหลักการ “ทำน้อยแต่ได้มาก”
.
โดยเฉพาะกับพนักงานที่ได้ชื่อว่าเป็นเดอะแบก (20%ของคนทั้งหมดในองค์กร)
.
โฟกัส ‘เดอะแบก’ ให้มาก ทุ่มทรัพยากรไปที่ส่วนน้อยที่ให้ผลลัพธ์มาก
.
องค์กรไหนปล่อยให้ ‘เดอะแบก’ ยังคงแบกอยู่ต่อไป จะมั่นใจไหมว่าพวกเขาจะอยู่ไปด้วยอีกนาน
.
การปล่อยให้พบวันแมนโชว์อยู่บ่อยๆในองค์กร คือความบกพร่องหนึ่งที่มิอาจมองข้าม
.
หันมาทุ่มเทให้กับ ‘เดอะแบก’ จำนวน 20% ให้มาก เมื่อนั้นคนส่วนใหญ่จะเริ่มอยากเป็นเดอะแบกบ้าง แล้วต่อไป ทุกคนก็จะ ‘แบ่งกันแบก’ องค์กรก็จะน่าอยู่ขึ้นเยอะ
.
หันมาสนใจงาน 20% ที่มักมองข้ามให้มาก
.
สนใจลูกค้าส่วนน้อยที่อาจกลายเป็นฐานลูกค้าหลักที่สำคัญในอนาคตขององค์กร
.
เมื่อนั้นก็เข้าตำรา “ทำน้อยแต่ได้มาก”
.
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็จะตามมาเอง
.
.
อ่านบทความอื่นๆได้ใน Facebook Page : Hovering Inspirations 👇
https://www.facebook.com/profile.php?id=61558412223812&mibextid=ZbWKwL